แอนิเมชั่น

รีวิว การ์ตูนแอนิเมชัน Coco (2017)
การ์ตูน

รีวิว การ์ตูนแอนิเมชัน Coco (2017)

Coco เรียกได้ว่าเป็นแอนิเมชันดีกรีออสการ์ สาขาภาพยนตร์แอนิเมชันยอดเยี่ยม ที่สร้างความประทับใจให้เด็กๆ และผู้ใหญ่ทั่วโลก เรื่องราวของ “มิเกล” เด็กชายวัย 12 ปี เกิดมาในครอบครัวที่มีกฎเหล็กห้ามสมาชิกในบ้านเป็นนักดนตรี แต่เขากลับชื่นชอบดนตรีและเสียงเพลงในหัวใจ นำไปสู่เรื่องราวการผจญภัยที่เรียกน้ำตาจากผู้ชม นอกจากนี้ Coco ยังมีเนื้อหาที่ได้แรงบันดาลใจมาจากเทศกาลวันแห่งความตาย (Day of the Dead) ของประเทศเม็กซิโก สำหรับ Coco (2017) เป็นหนังที่เซอร์ไพร์สสำหรับเรามากจริงๆ สารภาพว่าในตอนแรกที่ได้ดูตัวอย่างหนัง แทบไม่ได้สนใจเลย เพราะเห็นสไตล์หนังคิดว่าเป็นหนังแอนิเมชันที่เน้นไปทางเด็กดูมากกว่า จนมาเห็นกระแสวิจารณ์ค่อนข้างดี เลยต้องหันกลับมาดู แล้วก็ไม่แปลกใจว่าทำไมเขาถึงชมกันว่าหนังดีมาก รวมทั้งยังคิดว่า Coco ถือเป็นตัวเต็งที่แข็งมากในเวทีออสการ์ สาขารางวัลแอนิเมชันยอดเยี่ยม (คิดว่าโอกาสได้สูงมาก !) Coco แอนิเมชันจาก Pixar ภายใต้การควบคุมของ Disney หนังได้รับการกำกับโดย Lee Unkrich และ Adrian Molina โดย Lee Unkrich เคยได้รับออสการ์แอนิเมชันยอดเยี่ยมมาแล้วครั้งนึงจาก Toy Story 3 […]

รีวิว การ์ตูนแอนิเมชัน Spider-Man: Into the Spider-Verse (2018)
การ์ตูน

รีวิว การ์ตูนแอนิเมชัน Spider-Man: Into the Spider-Verse (2018)

Spider-Man: Into the Spider-Verse ภาคล่าสุดของโซนี่จะเป็นเรื่องราวของไมลส์ เด็กชายผิวสีที่ค้นพบว่าตัวเองก็เป็นหนึ่งในสไปเดอร์แมนอีกคน และพบว่าในจักรวาลนี้ไม่ได้มีเพียงแค่เขาเท่านั้นที่เป็นสไปเดอร์แมน เขาเริ่มออกช่วยเหลือผู้คนรวมถึงคนที่เขารักนั่นคือพ่อ ซึ่งเราจะได้เห็นสไปเดอร์แมนอีกหลายคน หนึ่งในการ์ตูนแอนิเมชันที่เชิดชูความหลากหลายทางสังคม เมื่อตัวละครเอกเป็นสไปเดอร์แมนผิวสี โดยเลือกเล่าเรื่องผ่านตัวละคร “ไมลส์ โมราเลส” เด็กชายผิวสี ที่ได้รับพลังแมงมุม จนสุดท้ายได้เริ่มออกช่วยเหลือผู้คนในเมืองจากภัยร้าย การ์ตูนเรื่องนี้มอบแรงบันดาลใจให้ผู้ชม แสดงให้เห็นว่าไม่ว่าใครก็เป็นสไปเดอร์แมน หรือ “ฮีโร่” ได้ นอกจากจะกวาดรายได้ทั่วโลกมากกว่า 300 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯแล้ว ยังคว้ารางวัลออสการ์ สาขาภาพยนตร์แอนิเมชันยอดเยี่ยม อีกทั้งทำให้เพลงประกอบภาพยนตร์อย่าง “Sunflower” ของ Post Malone โด่งดังติดชาร์ตเพลงทั่วโลก ความเปลี่ยนแปลงอีกประการคือการยกตัวเอกที่ไม่ใช่ ปีเตอร์ ปาร์กเกอร์ ในวัยผู้ใหญ่หรือเด็กมานำ  แต่เปลี่ยนมามองผ่านสายตาของ ไมลส์ โมราเลส เด็กผิวสีที่บังเอิญได้รับพลังแมงมุมและยังหาวิธีจัดการกับพลังที่ได้รับมาอย่างยากลำบาก ซึ่งจะคล้ายกับปีเตอร์ตอนวัยรุ่นเลย สำหรับคอคอมิกส์หรือสื่ออื่นที่ไม่ใช่หนังน่าจะคุ้นเคยกับไมลส์มาพอสมควรเพราะเขาโลดแล่นในฐานะสไปเดอร์แมนแทน ปีเตอร์ ปาร์กเกอร์ มาได้พอสมควรแล้ว แต่สำหรับคอหนังนี่คือการตัวครั้งแรกและยังได้เปิดโลกทัศน์ใหม่ของสไปเดอร์แมนที่มีมากกว่าหนึ่งคนเลยด้วย นอกจากนี้ยังมีดาราที่คาดไม่ถึงมาให้เสียงพากย์อีกทั้ง เฮลีย์ สไตน์เฟลด์ ที่กำลังร้อนแรงกับหนัง Bumblebee ก็มาให้เสียง เกวน สเตซี่

รีวิวแอนิเมชั่น The Nightmare Before Christmas
การ์ตูน

รีวิวแอนิเมชั่น The Nightmare Before Christmas

The Nightmare Before Christmas นําเสนอแอนิเมชั่นสต็อปโมชั่นที่น่าทึ่ง พร้อมเรื่องราวที่มืดมนสําหรับทั้งครอบครัว ซึ่งแตกต่างจากภาพยนตร์แอนิเมชั่นที่มีชื่อเสียงที่สุดของดิสนีย์ The Nightmare Before Christmas มีแนวทางการเล่าเรื่องที่มืดมนและบิดเบี้ยวมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ทุกอย่างตั้งแต่แอนิเมชั่นสต็อปโมชั่นไปจนถึงตัวละครที่น่าสยดสยองและการเล่าเรื่องที่ออกแบบมาให้ดูแปลกใหม่และไม่เหมือนใคร มารวมกันอย่างสวยงาม แจ็ค สเคลลิงตันปกครองในฐานะราชาฟักทองแห่งเมืองฮาโลวีน แต่เมื่อเขาสะดุดกับการค้นพบประตูวิเศษที่นําไปสู่วันหยุดอื่นๆ ความทะเยอทะยานของแจ็คนําไปสู่แผนการที่น่ารังเกียจที่จะเข้าครอบครองวันหยุดทั้งหมด โดยเริ่มจากเมืองคริสต์มาส ระหว่างทางเขาต้องเผชิญกับความท้าทายและสัตว์ประหลาดที่ไม่เหมือนใครก่อนที่จะสะดุดกับแซลลี่ที่รักในชีวิตของเขา เพลงฮิตในวันหยุดนี้เป็นการแสดงตั้งแต่ต้นจนจบ   ฝันร้ายก่อนคริสต์มาสเป็นผลงานชิ้นเอกทางดนตรีที่โดดเด่น The Nightmare Before Christmas มีเรื่องราวมาจากจินตนาการที่ดุร้ายและแปลกประหลาดของ Tim Burton แม้ว่าเขาจะไม่ได้ทํางานในภาพยนตร์เรื่องนี้โดยตรงในฐานะนักเขียนหรือผู้กํากับ อย่างไรก็ตามเรื่องนี้สไตล์ที่เป็นเอกลักษณ์ของเขามีอยู่ทั่วทั้งภาพยนตร์ด้วยการออกแบบตัวละครที่เป็นเอกลักษณ์และโน้ตดนตรีที่ไม่เหมือนใครซึ่งจัดทําโดย Danny Elfman ผู้ร่วมงานบ่อยครั้งของเขา ภาพยนตร์เรื่องนี้น่าทึ่ง แต่บางทีดนตรีที่น่าทึ่งยิ่งกว่านั้น เรื่องราวมาจากจินตนาการที่ดุร้ายและแปลกประหลาดของ Tim Burton แม้ว่าเขาจะไม่ได้ทํางานในภาพยนตร์เรื่องนี้โดยตรงในฐานะนักเขียนหรือผู้กํากับ ที่มีความคิดสร้างสรรค์อันน่าทึ่งของ Elfman สํารวจจุดตัดระหว่างโทนสีที่น่ากลัวและน่าขนลุกของวันฮาโลวีนกับความสุขและความลึกลับอันน่าอัศจรรย์ของคริสต์มาส การรวมองค์ประกอบสองอย่างที่ดูเหมือนตรงกันข้ามเข้าด้วยกันจะสร้างซาวด์แทร็กแบบไดนามิก เข้มข้น และมีส่วนร่วมอย่างทั่วถึง ทั้งเครื่องดนตรีและเพลงนั้นน่าทึ่ง และแม้ว่าพวกเขาจะเป็นจุดแข็งหลักของภาพยนตร์เรื่องนี้ แต่ซาวด์แทร็กก็คุ้มค่าที่จะฟังด้วยตัวมันเอง สิ่งนี้ได้รับการสนับสนุนเพิ่มเติมจากการเล่าเรื่องของภาพยนตร์เรื่องนี้ ซึ่งเป็นหนึ่งในเรื่องราววันหยุดที่สร้างสรรค์และยอดเยี่ยมที่สุดเท่าที่เคยมีมาอย่างไม่ต้องสงสัย แนวทางการเล่าเรื่องของเบอร์ตันส่งผลให้เกิดเรื่องราวที่ยอดเยี่ยมและนอกกรอบหลายเรื่อง และ The

รีวิว แอนิเมชันฟีลกู๊ด Up (2009)
การ์ตูน

รีวิว แอนิเมชันฟีลกู๊ด Up (2009)

แอนิเมชันฟีลกู๊ด จากพิกซาร์ (Pixar) ที่นำเรื่องราวของความรัก ความฝัน และความทรงจำ มาถ่ายทอดผ่านตัวละคร “ปู่คาร์ล” ชายชราที่เคยสัญญากับภรรยาว่าจะสานฝันให้ด้วยการพาไปเที่ยวที่อเมริกาใต้ แต่สัญญานั้นไม่มีวันเป็นจริง จนกระทั่งปู่คาร์ลได้พบกับเหตุการณ์ที่ปัดฝุ่นความฝันในอดีตขึ้นอีกครั้ง นำไปสู่การผจญภัยสนุกๆ ปนซึ้ง เชื่อว่าภาพบ้านหลังหนึ่ง ซึ่งกำลังถูกลูกโป่งนับพันลูกยกให้ลอยขึ้นบนท้องฟ้า น่าจะเป็นภาพจำที่สร้างความประทับใจให้ใครหลายคนอมยิ้ม เมื่อพูดถึงแอนิเมชันเรื่องนี้ Up เป็นภาพยนตร์แอนิเมชันจากค่าย Disney Pixar เข้าฉายเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2009 โดยเป็นแอนิเมชันเรื่องแรกของค่ายที่มีการออกฉายในรูปแบบสามมิติ กำกับโดย พีท ด็อกเตอร์ ผู้เคยฝากฝีไม้ลายมือไว้ในการ์ตูนคลาสสิกอย่าง Monsters, Inc. (2001) ให้เสียงภาคโดย เอ็ด แอสเนอร์, คริสโตเฟอร์ พลัมเมอร์, จอร์แดน นากาอิ, บ๊อบ ปีเตอร์สัน และจอห์น แรทเซนเบอร์เกอร์ เล่าเรื่องราวของ คาร์ล เฟรดริกสัน คุณปู่สูงวัย ผู้ต้องการเติมเต็มความฝันวัยเด็กและรักษาคำมั่นสัญญาที่เคยให้ไว้กับ เอลลี ภรรยาผู้ล่วงลับของเขา ว่าสักวันทั้งสองจะบินลัดฟ้าไปผจญภัยในทวีปอเมริกาใต้ คาร์ลตัดสินใจผูกบ้านเข้ากับลูกโป่งนับพัน ก่อนบินเหินฟ้าเพื่อไล่ตามความฝัน แต่แล้วทริปนี้กลับไม่เป็นดั่งใจเมื่อ

รีวิวแอนิเมชั่น องครักษ์พิทักษ์เจี๊ยบ (Out Of The Nest)
การ์ตูน

รีวิวแอนิเมชั่น องครักษ์พิทักษ์เจี๊ยบ (Out Of The Nest)

สำหรับหนัง องครักษ์พิทักษ์เจี๊ยบ ภารกิจสุดป่วนของแพะหนุ่มและลูกเจี๊ยบทั้ง 7 อีกหนึ่งความภูมิใจของคนไทยกับแอนิเมชั่นสัญชาติไทยเรื่องแรก 1 ใน 12 ภาพยนตร์แอนิเมชั่น จาก 3,400 ผลงาน ที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็น Annecy Selections ในงานเทศกาลภาพยนตร์แอนิเมชั่นนานาชาติ Annecy International Animation Film Festival 2024 กับเรื่องราวของ อาร์เธอร์ แพะหนุ่มวัยรุ่นที่มีความมุ่งมั่น มาร่วมผนึกกำลังกับเหล่าลูกเจี๊ยบทั้ง 7 เพื่อทำภารกิจสุดยิ่งใหญ่ในการกำจัดพลังมืดของพ่อมดชั่วร้ายและกอบกู้อาณาจักรแคสตีเลียอันเป็นที่รักกลับคืนมาให้ได้ หนังได้นักร้อง-นักแสดงหนุ่ม ต้าห์อู๋ พิทยา ให้เสียงพากย์เป็น อาร์เธอร์ แพะหนุ่มผู้มีความมั่นใจในตัวเอง และเกิร์ลกรุ๊ปสุดฮอตอย่าง 4EVE, มายด์ อาทิตยา ตรีบุดารักษ์, โจริญ คัมภีรพันธุ์, ตาออม เบญญาภา อุ่นจิตร, แฮนน่า โรสเซ็นบรูม, ฝ้าย ณัฐธยาน์ บุตรธุระ, พั้นช์ ทิพานัน นิลสยาม และ อ๊ะอาย กรณิศ

รีวิวแอนิเมชั่น นาจา 2 (Ne Zha 2)
การ์ตูน

รีวิวแอนิเมชั่น นาจา 2 (Ne Zha 2)

นาจา 2 คือการกลับมาสานต่อความปังอีกครั้งของ ตำนานเซียนปีศาจจอมป่วน ที่เป็นเรื่องเล่าปรำปราเก่าแก่จากจีนแผ่นดินใหญ่ คัมแบ็กหนนี้ใน “Ne Zha 2 นาจา 2” ที่ต้องบอกเลยว่าเป็นเหมือนการอัปเกรดเครื่องใหม่ปังกว่าเดิม ที่ทะยานกราฟความสนุกแบบเพิ่มพูนขึ้นแบบเต็มปรอท ซ้ำอัดแน่นมาด้วยงานสร้างจากฝีมือแอนิเมเตอร์ชาวจีนที่ต้องยกนิ้วให้เลยจริงๆ เป็น แอนิเมชั่นจีน ภาคต่อที่ยกระดับจากภาคแรกทั้งในด้านงานภาพ ฉากแอ็กชัน และอารมณ์ของเรื่องราว ตัวละครเติบโตขึ้นพร้อมกับพล็อตที่เข้มข้นขึ้น มีการผสมผสานระหว่างดราม่าครอบครัว ความขัดแย้งภายในจิตใจ และฉากต่อสู้สุดอลังการที่ดึงดูดสายตาได้ตลอดทั้งเรื่อง พลังของมิตรภาพ การเสียสละ และการเลือกเป็นในสิ่งที่เราอยากเป็น ถูกเล่าออกมาอย่างชัดเจน Ne Zha 2 ยังคงเอกลักษณ์ของตำนานจีนในมุมมองใหม่ที่เข้าถึงผู้ชมรุ่นใหม่ได้ดี และเป็นอีกหนึ่งแอนิเมชันจีนที่น่าจับตามองในระดับโลก หลังจากรับอสนีบาต แม้นาจากับอ๋าวปิ่งจะรอดมาได้ด้วยการกลายเป็นวิญญาณ แต่ในไม่ช้าพวกเขาก็จะต้องสลายหายไป ไท่หยี่จึงวางแผนที่จะสร้างร่างของนาจาและอ๋าวปิ่งขึ้นมาใหม่ด้วยดอกบัววิเศษเจ็ดสี ทว่าระหว่างการสร้างร่างก็ได้เกิดอุปสรรคขึ้นมากมาย มาลุ้นกันว่าชะตากรรมของนาจาและอ๋าวปิ่งจะเป็นอย่างไรต่อไป โดยในภาคนี้ก็ยังคงได้ “หยางอวี่” (หรือ เจี่ยวจือ) มารับหน้าที่กำกับดูแลงานสร้างและดัดแปลงเขียนบทด้วยตัวเอง หยิบเอาตำราบันเทิงคดี Investiture of the Gods ตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 ของ ซู่จงหลิน มาประยุกต์สร้าง เอาจริงๆ ภาคแรกของหนังเรื่องที่ออกฉายไปเมื่อปี

Scroll to Top