การ์ตูน

On The Movement of The Earth สุริยะปราชญ์ ทฤษฎีสีเลือด พระเจ้า ดวงดาว และคนนอกรีต

    แม้ฟิลอสแห่งโครตอนจะนำเสนอทฤษฎีว่าโลกโคจรรอบ ดวงไฟขนาดใหญ่ ตั้งแต่ช่วง 500 ก่อนคริสตกาล แต่กว่ามนุษย์จะยอมรับได้ว่าโลกหมุรอบดวงอาทิตย์กันอย่างแพร่หลายก็กินเวลายาวนานต่อเนื่องไปจนถึงศตวรรษที่ 15 โดยที่ราคาของข้อเท็จจริงอันแสนเรียบง่ายนี้คืออิสรภาพและชีวิตของผู้คนจำนวนนับไม่ถ้วนที่ถูกตราหน้าเป็นคนนอกศาสนา เรื่องราวของ On The Movement of The Earth สุริยะปราชญ์ ทฤษฎีสีเลือด เริ่มต้นที่ราฟาล เด็กหนุ่มหัวดีที่ตั้งเป้าในชีวิตว่าจะเรียนเทววิทยาเพื่อไขว่คว้าอำนาจในฐานะนักบวชแห่งคริสจักรคาธอลิกในโปแลนด์ แม้ปากของเขาจะพร่ำพูดถึงศรัทธาและพระผู้เป็นเจ้า แต่นั่นก็ไม่ได้มีความหมายมากมายอะไรไปกว่าเครื่องมือในการไต่สู่บันไดแห่งวาสนา จนกระทั่งวันหนึ่ง ความสนใจในดาราศาสตร์ก็พาเขาไปพบพานกับทฤษฎีนอกรีตที่กล่าวว่าดวงดาวไม่ได้หมุนรอบโลกด้วยอำนาจของพระผู้เป็นเจ้าดังที่ศาสนจักรพร่ำสอน ราฟาลสัมผัสได้ถึงความงดงามของการเข้าใกล้ความจริงแท้ แต่ก่อนที่จะเข้าใกล้ไปมากกว่านี้ เขาก็ถูกสั่งประหารชีวิตเพื่อไม่ให้แพร่ “ภัยต่อศาสนจักร” โดยที่ไม่มีใครรู้เลยว่าบันทึกของเขาจะได้ตกไปอยู่ในมือของชายไม่รู้หนังสือคนหนึ่งในเวลาต่อมา    ความน่าสนใจของสุริยะปราชญ์ ทฤษฎีสีเลือด ซึ่งแน่นอนว่าอานิเมะในเรื่อง On The Movement of The Earth เน้นหนักไปที่การปะทะกันทางความคิดของผู้คนมากมายระหว่างการเส้นทางการพิสูจน์ทฤษฎีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางมากกว่าจะอธิบายกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ทั้งทาสผู้ต่ำต้อยที่เพิ่งจะกล้าเงยนหน้ามองดวงดาวเป็นครั้งแรก นักบวชผู้เหนื่อยหน่ายอำนาจในสถาบัน บุตรสาวของหัวหน้าตำรวจศาสนา นักสู้ปลดปล่อยคนนอกรีต และเด็กหญิงไหวพริบดีผู้ไม่เชื่อในพระเจ้า ทุกคนต่างร้อยรวมเป็นหนึ่งเดียวด้วยความปรารถนาที่จะเป็นอิสระจากความมืดบอดที่ศาสนจักรสร้างขึ้น เจตจำนงเสรีของพวกเขาลุกติดขึ้นมาราวกับเปลวไฟ เมื่อค้นพบว่าสถาบันที่มีอำนาจสูงสุดอาจเสื่อมอำนาจได้ด้วยข้อเท็จจริงง่าย ๆ เพียงเรื่องเดียว ด้วยน้ำมือของบรรดาคนนอกรีต ผู้หญิง และคนชายขอบ ด้วยเจตจำนงที่ถูกส่งต่อกัน ไม่ว่าจะถูกอำนาจบดขยี้ให้พังพินาศกี่ครั้งก็ตามแม้เรื่องอาร์ตสไตล์ของ […]